การหุ้มฉนวนท่อไอน้ำ
หน้าที่ของฉนวน (The Functionn of Insulation)
ในทางปฏิบัติ ฉนวนทำหน้าที่กั้นความร้อนหรือความเย็น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในภาคอุตสาหกรรมว่าเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยประหยัดพลังงาน ดังนั้นจะต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญในการเลือกวัสดุและความหนาให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ประโยชน์ในแต่ละงาน
ถ้าในท่อไอน้ำไม่มีฉนวนเพียงพอหรือไม่มีฉนวนเลย ก็จะเป็นแหล่งสูญเสียความร้อนที่สำคัญ ตัวอย่างเช่น ในโรงงานผลิตกระดาษ นอกเหนือจากการทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนที่พื้นผิวแล้ว ความหนาไม่พอเพียงของฉนวนยังมีผลทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำในท่อไอน้ำมากเกินไป และทำให้เกิดผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดกับคุณภาพของไอน้ำและระบบการผลิตในส่วนของท่อไอน้ำ, หน้าแปลน, วาล์ว, ท่อไอน้ำควบแน่น, ถังน้ำป้อนเข้าในหม้อไอน้ำและถังเก็บไอน้ำควบแน่น ก็ต้องมีการตรวจสอบความหนาที่ไม่พอเพียงของฉนวนด้วยเช่นกัน
การประหยัดความร้อนและหลักเกณฑ์การนำเอาไปใช้ประโยชน์ (Heat Saving and Application Criteria)
วัสดุที่ใช้เป็นฉนวน เช่น แมกนีเซีย 85% มิเนอรัลวูล (Mineral Wool) และไฟเบอร์กลาสหรือใยแก้ว (Fibre-Glass) มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ประโยชน์เป็นฉนวน ยิ่งไปกว่านั้นบล๊อกที่ใช้โพลียูเรเทนประกอบขึ้นมาก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนำเอาไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นฉนวนของหน้าแปลนหรือวาล์ว เป็นต้น
ตารางต่อไปนี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการใช้ฉนวนทั้งในท่อไอน้ำ ท่อควบแน่น และพื้นผิวความร้อนของถังควบแน่น และบ่อน้ำร้อน
การหุ้มฉนวนความร้อนสามารถปรับให้สมดุลกับค่าใช้จ่ายของการสูญเสียความร้อน หรือการประหยัดความร้อน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายของการหุ้มฉนวน สามารถคำนวณได้โดยใช้สูตรดังนี้
ระยะเวลาคืนทุน (ปี) = ค่าใช้จ่ายของการหุ้มฉนวน
มูลค่าการประหยัดความร้อน/ปี
การคำนวณความหนาของฉนวนให้ประหยัดขึ้นอยู่กับการคำนวณการสูญเสียความร้อนที่ความหนาของฉนวนที่แตกต่างกันออกไป เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายของการหุ้มฉนวน ซึ่งจะทำให้เกิดมูลค่าของการประหยัดมากที่สุด ความหนาของฉนวนที่ประหยัดจะเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนเชื้อเพลิง ระดับหม้อไอน้ำที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนการหุ้มฉนวน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะ ๆ การเลือกความหนาของฉนวนที่ใช้หุ้มอย่างเหมาะสม แสดงได้ดังรูปที่ 27 การหุ้มฉนวนไม่ดีทำให้สูญเสียพลังงาน
การหุ้มฉนวนไม่ดี ทำให้สูญเสียพลังงาน